ยานอวกาศมี 2 ประเภท คือ ยานอวกาศที่มีมนุษย์ควบคุม
และยานอวกาศที่ไม่มีมนุษย์ควบคุม
1.ยานอวกาศที่มีมนุษย์ควบคุม (Manned Spacecraft) มีขนาดใหญ่
เพราะต้องมีปริมาตรพอที่มนุษย์อยู่อาศัยได้ และยังต้องบรรทุกปัจจััยต่างๆ
ที่มนุษย์ต้องการ เช่น อากาศ อาหาร และเครื่องอำนวยความสะดวกในการยังชีพ เช่น
เตียงนอน ห้องน้ำ ดังนั้นยานอวกาศที่มีมนุษย์ควบคุมจึงมีมวลมาก
การขับดันยานอวกาศที่มีมวลมากให้มีอัตราเร่งสูงจำเป็นต้องใช้จรวดที่บรรทุกเชื้อเพลิงจำนวนมาก
ซึ่งทำให้มีค่าใช้จ่ายสูงมาก ยานอวกาศที่มีมนุษย์ควบคุมได้แก่ ยานอะพอลโล (Apollo) ซึ่งนำมนุษย์ไปยังดวงจันทร์
ยานอวกาศมีมนุษย์ขับคุม 6 โครงการ
1. โครงการเมอร์คิวรี
Mercury
2. โครงการเจมินี
Gemini
3. โครงการอะพอลโล
Apollo
4. โครงการสกายแลบ
Skylab
5. โครงการอะพอลโล-โซยุส
Apollo - Soyuz
6. โครงการยานขนส่งอวกาศ
Space Shuttle
1. "เมอร์คิวรี"
ปฐมบทมนุษย์อวกาศ
โครงการเมอร์คิวรี (Project Mercury) เป็นแผนการส่งมนุษย์ไปสู่อวกาศ
โครงการแรกของนาซา ซึ่งเริ่มต้นขึ้นในปี 2501 และสิ้นสุดลงในปี
2506 โดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อส่งมนุษย์อวกาศขึ้นไปโคจรรอบโลก
ทดสอบความสามารถและการดำรงชีวิตของมนุษย์เมื่ออยู่ในอวกาศ
2."เจมินี"
สะพานสู่ดวงจันทร์
โครงการเจมินี (Gemini) เป็นโครงการส่งมนุษย์ขึ้นไปทดสอบเที่ยบินอวกาศเป็นโครงการที่
2 ถัดจากโครงการเมอร์คิวรี เพื่อปูทางสู่โครงการถัดไป คือ
โครงการอพอลโล โดยโครงการเจมินี เริ่มต้นขึ้นในปี 2505 ทดสอบรวมทั้งสิ้น
12 เที่ยวบิน ซึ่งจุดประสงค์หลัก
คือทดสอบการเชื่อมต่อยานอวกาศขณะอยู่ในอวกาศ และทดสอบการเข้าสู่ชั้นบรรยากาศของโลก
การเลือกสถานที่ลงจอดที่เหมาะสม และนำ
ยานลงจอดได้ได้อย่างสมบูรณ์แบบมากที่สุด
3. "อพอลโล" สานฝันมนุษยชาติ
หลังจากทดลองส่งมนุษย์ขึ้นไปโคจรรอบโลก
พร้อมยานอวกาศได้สำเร็จแล้วในโครงการก่อนหน้า
ก็ถึงเวลาที่นาซาจะส่งนักบินอวกาศเดินทางไปยังพิภพนอกโลก
โดยมีจันทร์บริวารของโลกเป็นจุดหมายปลายทาง ซึ่งเป้าหมายของโครงการอพอลโล คือ
ส่งมนุษย์ไปเยือนดวงจันทร์และเดินทางกลับโลกได้อย่างปลอดภัย
นาซาก็ทำสำเร็จ เมื่อยานอพอลโล 11 สามารถพานีล
อาร์มสตรอง (Neil Armstrong) ลงเหยียบพื้นผิวดวงจันทร์ได้เป็นครั้งแรกของมนุษย์โลก
และช่วยเติมเต็มความฝันของมนุษยชาติ ที่มีมาช้านานได้สำเร็จ ทำให้สหรัฐฯ
กลายเป็นผู้นำของโลกด้านเทคโนโลยีอวกาศอย่างเต็มภาคภูมิ
โครงการอพอลโลเริ่มต้นขึ้นในปี 2511 ด้วยยานอพอลโล 7
และสิ้นสุดลงในปี 2515 กับภารกิจของยานอพอลโล 17
เพื่อทำการสำรวจสภาพแวดล้อมบนดวงจันทร์
และพัฒนาเทคโนโลยีที่ช่วยให้มนุษย์สามารถทำงานบนดวงจันทร์ได้
และค้นพบสิ่งใหม่ๆในจักรวาล
4. "อพอลโล-โซยุซ" เชื่อมสัมพันธ์อวกาศ "สหรัฐฯ-รัสเซีย"
อพอลโล-โซยุซ (Apollo-Soyuz Test Project) เป็นโครงการความร่วมมือระหว่างสหรัฐฯ
และรัสเซีย ซึ่งนับเป็นเที่ยวบินอวกาศนานาชาติเที่ยวบินแรก
จุดประสงค์คือทำการทดสอบระบบการเชื่อมต่อยานอวกาศของทั้งสองชาติ
เพื่อเปิดทางไปสู่ความร่วมมือกันด้านเทคโนโลยีอวกาศในระดับสากลต่อไปในอนาคต
5."สกายแล็บ" ขยายเวลาทำงานของมนุษย์ในอวกาศ
สกายแล็บ (Skylab) เป็นสถานีอวกาศแห่งแรกของสหรัฐฯ
ที่ทำให้มนุษย์สามารถขึ้นไปดำรงชีวิต และทำงานบนอวกาศได้เป็นเวลายาวนานมากขึ้น
และยังช่วยให้มนุษย์ขยายขอบเขตองค์ความรู้ด้านดาราศาสตร์ และอวกาศมากยิ่งขึ้น
กว่าสังเกตการณ์อยู่บนพื้นโลก
มนุษย์อวกาศได้ใช้สถานีสกายแล็บเป็นสถานที่ศึกษาวิจัยเรื่องต่างๆ
รวมทั้งสิ้นกว่า 300 การทดลอง รวมระยะเวลาทั้งหมด 171
วัน 13 ชั่วโมง
ก่อนที่สกายแล็บจะถูกปลดระวางและตกลงสู่โลกบริเวณมหาสมุทรอินเดียในวันที่ 11
ก.ค. 2522
6. "กระสวยอวกาศ" ระบบขนส่งทางอวกาศ
ในปี 2524 นาซาได้เริ่มโครงการระบบขนส่งทางอวกาศ
ด้วยยานอวกาศที่มีรูปร่างคล้ายกระสวย
ซึ่งเป็นยานชุดเดียวกับที่ยังใช้งานอยู่ในปัจจุบัน
โดยเริ่มต้นด้วยการทดสอบเที่ยวบินอวกาศของยานโคลัมเบีย (Columbia) เป็นเที่ยวบินแรก ก่อนที่จะใช้งานในการขนส่งดาวเทียมและอื่นๆ
ซึ่งยานอวกาศในชุดกันนี้มีทั้งหมด 5 ลำ ได้แก่ ยานโคลัมเบีย,
ชาเลนเจอร์ (Challenger), ดิสคัฟเวอรี (Discovery),
แอตแลนติส (Atlantis) และเอนเดฟเวอร์ (Endeavour)
2.ยานอวกาศที่ไม่มีมนุษย์ควบคุม (Unmanned Spacecraft) มีขนาดเล็กมากเมื่อเปรียบเทียบกับยานอวกาศที่มีมนุษย์ควบคุม
ยานอวกาศชนิดนี้มีมวลน้อยไม่จำเป็นต้องใช้จรวดนำส่งขนาดใหญ่
จึงมีความประหยัดเชื้อเพลิงมาก
อย่างไรก็ตามในการควบคุมยานในระยะไกลไม่สามารถใช้วิทยุควบคุมได้
เนื่องจากคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าต้องใช้เวลาในการเดินทาง ยกตัวอย่างเช่น
ดาวเสาร์อยู่ไกลจากโลกประมาณ 1 พันล้านกิโลเมตร
หรือ 1 ชั่วโมงแสง หากส่งคลื่นวิทยุไปยังดาวเสาร์
คลื่นวิทยุต้องใช้เวลานานถึง 1 ชั่วโมง
ดังนั้นการควบคุมให้ยานเลี้ยวหลบหลีกก้อนน้ำแข็งบริเวณวงแหวนจะไม่ทัน
ยานอวกาศประเภทนี้จึงต้องมีสมองกลคอมพิวเตอร์และระบบซอฟต์แวร์ซึ่งฉลาดมาก เพื่อให้ยานอวกาศสามารถต้องปฏิบัติภารกิจได้เองทุกประการและแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าได้ทันท่วงที
เหตุผลอีกส่วนหนึ่งที่นักวิทยาศาสตร์นิยมใช้ยานอวกาศที่ไม่มีมนุษย์ควบคุมในงานสำรวจระยะบุกเบิกและการเดินทางระยะไกล
เนื่องจากการออกแบบยานไม่ต้องคำนึงถึงปัจจัยในการดำรงชีวิต ทำให้ยานสามารถเดินทางระยะไกลได้เป็นระยะเวลานานนอกเหนือขีดจำกัดของมนุษย์
ยานอวกาศที่ไม่มีมนุษย์ควบคุมได้แก่ ยานแคสินี ซึ่งใช้สำรวจดาวเสาร์ เป็นต้น
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น